ข้าวหลาม
ข้าวหลาม คือ “ข้าวสุก” จากกระบวนการ “หุง” ในกระบอกไม้ไผ่ วิธีการ “หุงข้าว” ด้วยการใช้กระบอกไม้ไผ่ไปอังความร้อนจากกองไฟระอุ เรียกว่า “หลามข้าว”
“หลาม” คือการทำอาหารให้สุกด้วยการนำวัตถุดิบต่างๆ ใส่ในกระบอกไม้ไผ่ไปโดนความร้อนจากกองไฟให้วัตถุดิบด้านในกระบอกสุก จะ ”หลามหมู” ก็ใส่เนื้อหมูเป็นชิ้นๆ ลงในกระบอกไม้ไผ่ เมื่อเนื้อหมูสุกดีกินได้ก็เรียกว่า “หมูหลาม” เหมือน “ปลาหลาม” “เนื้อหลาม” “ไก่หลาม” จะ “หลาม” อะไรก็ได้ทั้งนั้น
นักโบราณคดีอาหารเชื่อกันมานานว่า การ “หลาม” คือวิธีการทำอาหารให้สุกที่เก่าแก่ที่สุดกระบวนการหนึ่งใน อุษาคเนย์ (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้) เนื่องจากไผ่เป็นพืชพื้นถิ่นในภูมิภาคนี้ และยังหลงเหลือขั้นตอนการหลามในเผ่าต่างๆ เช่น “มลาบรี” (ในอดีตเราเรียกชาว มลาบรี ว่า “ผีตองเหลือง” ซึ่งเป็นคำที่เกิดจากความไม่รู้ต่อมาเมื่อนักมนุษยวิทยาสื่อสารกับชาว มลาบรี เขาไม่ชอบคำเรียกนี้ด้วยเหตุผลว่าพวกเขาไม่ใช่ “ผี” แต่เป็นคน) ที่หลามทุกอย่างตั้งแต่หมู ปลาลำธารสัตว์ทุกชนิด
ข้าวหลามแต่เดิมคงใส่น้ำเปล่าเพื่อให้ข้าวสุก เมื่อมีการใส่กะทิ น้ำตาล จึงกลายเป็นของหวาน
ทุกครั้งที่กินข้าวหลามนั่นคือเราได้ร่วม “ชิมอดีต” วีถีแห่งอุษาคเนย์ เมื่อกว่าพันปีที่แล้วด้วยเช่นกัน
ถ่ายทำโดย กล้อง Lumix GH5S
ฆนัท นาคถนอมทรัพย์
นักวิชาการอิสระ, เชฟ เจ้าของร้านอาหาร
บทความแนะนำ