คนชายขอบ
"คนชายขอบ" คือสารคดีที่นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับชนเผ่าต่างๆ ในภูมิภาคเอเชีย ที่มีเอกลักษณ์ไม่ว่าจะเป็นทางด้านวัฒนธรรม หรือวิถีชีวิต
ความแตกต่างทำให้คนกลุ่มนี้ถูกผลักดันไปสู่ชายขอบ ไม่ใช่เพียงชายขอบดินแดนประเทศ แต่เป็นชายขอบของสังคมปัจจุบัน
สารคดีชุดนี้ถ่ายทำด้วยกล้อง และเลนส์ Lumix S Series โดยทีมงานสารคดี Pale Blue Dot นำโดย สุเทพ กฤษณาวารินทร์ ช่างภาพสารคดีมืออาชีพที่มีประสบการณ์มายาวนาน ออกอากาสทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
ติดตามชมสารคดีได้ที่ https://program.thaipbs.or.th/KonChayKhob
โตนเลสาบ ในวันที่ปลาหายไป
ท่ามกลางแสงสีของยามเย็นที่งดงาม ใครจะคิดว่านี่คือฆาตกรเงียบ ที่หมู่บ้านกำปงเคลียง ในจังหวัดเสียมเรียบ ในช่วงฤดูแล้ง นายทุนจะมาจับจองถางพื้นที่ป่าเพื่อทำไร่ถั่ว พื้นที่รอบๆ โตนเลสาบ นับแสนไร่ได้ถูกแปลงสภาพเป็นไร่ ทำให้พื้นที่ป่าน้ำท่วมได้สูญหายไป ป่าเหล่านี้เป็นแหล่งอนุบาลปลาน้ำจืดที่สำคัญในลุ่มน้ำโขง จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ปลาลดน้อยลง ไม่เพียงเท่านั้นจากการใช้สารเคมีอย่างหนักเพื่อฆ่าแมลง ทำให้น้ำในโตนเลสาบนั้นปนเปื้อน ซึ่งจะมีผลต่อสุขภาพของคนรอบๆ โตนเลสาบในระยะยาว โตนเลสาบหล่อเลี้ยงผู้คนกว่า 10 ล้านคนในกัมพูชา กำลังตกอยู่ในความเสื่อมโทรมทางสภาพแวดล้อมอย่างหนัก
ซวนซืน หนุ่มวัย 40 ปี เป็นชาวประมงตั้งแต่ยังจำความได้ เขาเกิดและเติบโตในหมู่บ้านกำปงเคลียง ซึ่งเป็นชุมชนริมน้ำโตนเลสาบที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่ง ทุกๆ วันเขาจะตื่นตั้งแต่ตีสี่เพื่อไปดูลอบที่วางไว้ริมโตนเลสาบ เครื่องมือที่ว่านี้มีขนาดตั้งแต่ความยาวไม่กี่สิบเมตร ไปจนถึงยาวนับกิโลเมตร ซวนซืนยอมรับว่าการหาปลาในปัจจุบันยากลำบากมาก และปลาลดจำนวนลงมาก จนเขาคิดว่าจะไม่ให้ลูกๆ ทำอาชีพนี้อีกต่อไป และเมื่อวันที่ปลาหมดไป เขาอาจอพยพครอบครัวขึ้นไปอยู่บนฝั่ง
นกนางนวลแกลบกำลังโฉบปลาจากบ่อปลาในหมู่บ้านกำปงเคลียง ในโตนเลสาบเขมร พื้นที่ชุ่มน้ำหลายแห่ง เป็นเขตอนุรักษ์ และแหล่งอาศัยของนกน้ำที่สำคัญ แต่ปัจจุบันสถานะของนกน้ำเหล่านี้ถูกคุกคาม เนื่องจากการลดลงของแหล่งที่อยู่อาศัย และอาหารที่ลดลง เนื่องจากการประมงที่เกินขนาด ทำให้การแบ่งปันกันระหว่างคนและสัตว์มีความเปราะบางมากยิ่งขึ้น
เด็กๆ ชาวกัมพูชาที่หมู่บ้านกำปงหลวง กำลังเล่นน้ำอย่างสนุกสนาน ภาพชีวิตคนริมน้ำเหล่านี้อาจจะเริ่มเห็นยากขึ้นทุกวัน ที่หมู่บ้านกำปงหลวง ซึ่งเป็นหมู่บ้านยกใต้ถุนสูง ทุกๆ ปีจะมีน้ำท่วมนานหลายเดือน แต่หลายปีหลังน้ำไม่เคยท่วมถนนเลย บางปีในฤดูแล้งน้ำในคลองของหมู่บ้านตื้นเขินจนเรือวิ่งไม่ได้ ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ซึ่งหากน้ำยังลดระดับลงไปเรื่อยๆ สักวันภาพชีวิตริมน้ำคงหายไป
นกยางกรอกพันธุ์จีนติดอวนพร้อมกับปลาที่ชาวประมงจับได้ นกน้ำหลายชนิดมักจะลอบไปเอาปลาจากชาวประมง ซึ่งมักจะเป็นมื้อที่ได้มาง่าย แต่หลายครั้งพวกมันก็กลายเป็นอาหารเสียเอง ในโตนเลสาบเขมร พื้นที่ชุ่มน้ำหลายแห่ง เป็นเขตอนุรักษ์ และแหล่งอาศัยของนกน้ำที่สำคัญ แต่ปัจจุบันสถานะของนกน้ำเหล่านี้ถูกคุกคาม เนื่องจากการลดลงของแหล่งที่อยู่อาศัย และอาหารที่ลดลง เนื่องจากการประมงที่เกินขนาด ทำให้การแบ่งปันกันระหว่างคนและสัตว์มีความเปราะบางมากยิ่งขึ้น
ที่เพรกโทรล จังหวัดพระตะบอง ชาวบ้านคนหนึ่งกำลังเปิดสปริงเกอร์ที่เขาทำขึ้นมาเอง เพื่อรดน้ำให้พืชผักสวนครัวของเขาในโตนเลสาบ ชาวบ้านเริ่มหันมาทำการเพาะปลูกมากขึ้น เนื่องจากปริมาณปลาที่ลดลงอย่างมากในไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทำให้ชาวประมงจำนวนมากเปลี่ยนไปทำอาชีพอย่างอื่นเช่น ปลูกผัก บางคนก็หันไปทำบ่อปลา หรือบางคนก็ย้ายไปอยู่บนฝั่ง เปลี่ยนรูปแบบชีวิตอย่างสิ้นเชิง ที่เคยบอกว่าโตนเลสาบสามารถเลี้ยงคนได้ทั้งประเทศอาจจะใช้ไม่ได้อีกต่อไป
นกกระทุงฝูงหนึ่งกำลังลงหาอาหารยามเช้าในเพรกโทรล ซึ่งเป็นเขตอนุรักษ์นกที่สำคัญใน โตนเลสาบ ที่นี่ยังสามารถพบเห็นนกน้ำที่อยู่ในภาวะคุกคาม หรือเสี่ยงต่อการสูญพันธ์หลายชนิด เช่น นกตระกรุม นกตะกราม นกอ้ายงั่ว ปัจจุบันหน่วยงานอนุรักษ์พยายามทำงานอย่างแข็งขัน เพื่อให้ชาวบ้านรอบๆ มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ขณะเดียวกันก็ทำให้ชาวบ้านเป็นส่วนหนึ่งของการอนุรักษ์นี้
ซวนซืน กำลังทำลอบจับปลาที่ใต้ถุนบ้านของเขาในกำปงเคลียง ลอบที่เห็นนี้เป็นเพียงส่วนปลายที่ใช้เก็บปลาเท่านั้น ตัวลอบจริงๆจะทำด้วยไม้ปักเป็นหลัก และขึงด้วยตาข่ายยาวเป็นรูปลูกธนู มีความยาวตั้งแต่ไม่กี่สิบเมตร จนยาวนับกิโลเมตร ปัจจุบันเนื่องจากปลาที่ลดน้อยลงทั้งปริมาณและชนิดพันธุ์ ทำให้กรมประมงกัมพูชามีข้อกำหนดต่อเครื่องมือหาปลาหลายชนิด อย่างลอบนี้จะมีความยาวได้ไม่เกิน 150 เมตร หากมากกว่านั้นต้องเสียภาษี
นกอ้ายงั่ว ซึ่งเป็นนกหายากในเมืองไทย และอยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์ ยังสามารถพบเห็นได้ไม่ยากนักในเขตโตนเลสาบ โดยเฉพาะเขตอนุรักษ์อย่างเพรกโตรล ที่นี่นอกจากนกน้ำพวกนี้จะได้รับการคุ้มครองแล้ว พวกมันยังมีอาหารอย่างเหลือเฟือในโตนเลสาบเขมร พื้นที่ชุ่มน้ำหลายแห่ง เป็นเขตอนุรักษ์ และแหล่งอาศัยของนกน้ำที่สำคัญ แต่ปัจจุบันสถานะของนกน้ำเหล่านี้ถูกคุกคาม เนื่องจากการลดลงของแหล่งที่อยู่อาศัย และอาหารที่ลดลง เนื่องจากการประมงที่เกินขนาด ทำให้การแบ่งปันกันระหว่างคนและสัตว์มีความเปราะบางมากยิ่งขึ้น
วินหยางจู คนงานคัดปลาชาวเวียดนามกำลังเตรียมที่จะย่างปลาเป็นอาหารเย็นให้กับตนเอง และเพื่อนร่วมงานในแพปลา ในชุมชนหมู่บ้านลอยน้ำกำปงหลวง จังหวัดโพธิสัตว์ มีชาวเวียดนามอพยพอาศัยอยู่เกือบครึ่งหนึ่งของหมู่บ้าน คนเหล่านี้แม้จะมีฐานะดีกว่าคนเขมรแท้ๆ แต่ก็อยู่แบบไม่มีอิสระเต็มที่ เนื่องจากการเป็นคนต่างด้าว ทำให้พวกเขาจะต้องอาศัยอยู่กับน้ำเท่านั้น ไม่มีสิทธิ์ที่จะตั้งรกรากบนฝั่ง และไม่สามารถย้ายไปอยู่ที่อื่นได้อย่างอิสระ
นกยางกรอกพันธุ์จีน กระโดดหนีจากกอผักตบชวาเมื่อถูกนกยางเปียขับไล่ ภาพนกน้ำที่หากินอย่างอิสระนี้ยังพบเห็นได้ทั่วไปในเขตอนุรักษ์เพรกโทรล ของโตนเลสาบ ขณะที่นอกเขตอนุรักษ์นกน้ำต่างๆ อาจกลายเป็นผู้ถูกล่าเสียเอง เมื่อเรามักพบพวกมันติดเครื่องมือหาปลาของชาวประมงในโตนเลสาบเขมร พื้นที่ชุ่มน้ำหลายแห่ง เป็นเขตอนุรักษ์ และแหล่งอาศัยของนกน้ำที่สำคัญ แต่ปัจจุบันสถานะของนกน้ำเหล่านี้ถูกคุกคาม เนื่องจากการลดลงของแหล่งที่อยู่อาศัย และอาหารที่ลดลง เนื่องจากการประมงที่เกินขนาด ทำให้การแบ่งปันกันระหว่างคนและสัตว์มีความเปราะบางมากยิ่งขึ้น
คนงานรับจ้างชาวกัมพูชาคนหนึ่ง กำลังวางตาข่ายดักปลาในพื้นที่แห้งแล้งที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ว่ามีปลาให้จับ แต่เขาบอกว่าเขามาวางที่นี่หลายรอบแล้ว ตั้งแต่ตอนที่น้ำยังมีมากกว่านี้ อย่างไรก็ตามเขายืนยันว่าสองสามปีที่ผ่านมานี้ระดับน้ำลดลงเร็วมาก ทำให้ปลาก็ลดน้อยไปด้วย แม้ว่าปลาอย่าง ปลาช่อน ปลาดุก หรือปลาหมอสามารถซ่อนตัวอยู่ในดิน จำศีลหรือเดินไปหาแหล่งน้ำใหม่ได้ แต่ปลาที่สามัญที่สุด และปรับตัวง่ายเหล่านี้ก็ยังเริ่มหายากขึ้นทุกที ที่กำปงหลวงนี้เป็นหมู่บ้านแพลอยน้ำที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในโตนเลสาบ ปัจจุบันเมื่อปลาเริ่มหายากขึ้น และโตนเลสาบอาจไม่สามารถสนองความต้องการของชุมชนรอบโตนเลสาบได้อย่างเพียงพออีกต่อไป ทางการกัมพูชามีแผนว่าอาจอพยพเหล่านี้ขึ้นบก เพื่อหาที่เพาะปลูกและยังชีพวิธีอื่น
อุปกรณ์การถ่ายทำ
กล้อง : Lumix S1, LumixS1R
เลนส์ : Lumix S Pro 50 mm., Lumix S Pro 70-200 mm., Lumix S 24-105 mm.
สุเทพ กฤษณาวารินทร์ ในฐานะช่างภาพสารคดีที่มีประสบการณ์ ได้เก็บบันทึกภาพเหตุการณ์ ประเด็นต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และมนุษยธรรม มาตลอดเวลากว่า 20 ปี โดยยึดหลักในการทำงานว่า ช่างภาพสารคดีเป็นเพียงผู้สังเกตการณ์ทางสังคม และวัฒนธรรมเท่านั้น ในการทำสารคดีแต่ละครั้งเขาทุ่มเทเวลาไปกับทำความเข้าใจประเด็นที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งสร้างความไว้วางใจ และมิตรภาพในชุมชม หรือเจ้าของเรื่องที่เป็นประเด็น ซึ่งนั่นทำให้เขาได้ผลงานภาพที่ทรงพลัง และถ่ายทอดเรื่องราวในสารคดีได้อย่างลึกซึ้ง ผลงานของเขาจึงโดดเด่นและเป็นที่สนใจในระดับสากล และปัจจุบันได้ผลิตสารคดีในนาม Pale Blue Dot
เยี่ยมชมผลงานได้ที่ : https://www.facebook.com/suthepphoto/
: https://www.facebook.com/PaleBlueDotThailand/
บทความแนะนำ
เบื้องหลังสารคดีคนชายขอบ by Lumix S Series
คนชายขอบ ลมหายใจสุดท้าย...มอแกน
คนชายขอบ ห่วงคอวง
คนชายขอบ โตนเลสาบ ในวันที่ปลาหายไป
ยายมูเผ้า
ไร่ถั่ว
ปิ้งปลา
นวด
เผา
โบสถ์กลางหุบเขา
เปลี่ยนห่วง
ไทม์แลป
เทียมดำน้ำ
หญิงกะยันอาบน้ำ
หาปลา
Prek Trol Bird
เด็กเล่นปืน
เทียมโดดน้ำหาปลา
ผลิตภัณฑ์แนะนำ
DC-S1H
กล้อง DSLM (กล้องดิจิตอลมิเรอร์เลสเลนส์เดี่ยว) แบบฟูลเฟรม พร้อม V-Log/V-Gamut ที่มีไดนามิกเรนจ์ 14+ สต็อป การถ่ายภาพแบบฟูลเฟรม 6K และการบันทึก Cinema 4K/4K 60p/50p 10 บิต