คนชายขอบ
"คนชายขอบ" คือสารคดีที่นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับชนเผ่าต่างๆ ในภูมิภาคเอเชีย ที่มีเอกลักษณ์ไม่ว่าจะเป็นทางด้านวัฒนธรรม หรือวิถีชีวิต
ความแตกต่างทำให้คนกลุ่มนี้ถูกผลักดันไปสู่ชายขอบ ไม่ใช่เพียงชายขอบดินแดนประเทศ แต่เป็นชายขอบของสังคมปัจจุบัน
สารคดีชุดนี้ถ่ายทำด้วยกล้อง และเลนส์ Lumix S Series โดยทีมงานสารคดี Pale Blue Dot นำโดย สุเทพ กฤษณาวารินทร์ ช่างภาพสารคดีมืออาชีพที่มีประสบการณ์มายาวนาน ออกอากาสทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
ติดตามชมสารคดีได้ที่ https://program.thaipbs.or.th/KonChayKhob
ห่วงคอวง
ยายมูเผ้า ใส่ห่วงคอทองเหลืองซึ่งหนักว่า 5 กิโลกรัม มามากกว่า 40 ปี ปัจจุบันยายมูเผ้าในวัย 60 ปีอาศัยอยู่ในหมู่บ้านป๋าแป้ในรัฐคะยา ความจริงการใส่ห่วงคอของพวกเธอไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อโชว์ตัวแก่นักท่องเที่ยว หรือเพื่อรายได้แต่อย่างใด เพราะอาชีพหลักของชาวกะยันก็เช่นเดียวกับชนเผ่าทั่วไป คือเป็นเกษตรกร ปลูกข้าว และพืชผลเพื่อการบริโภคในครัวเรือน แต่เนื่องจากสงครามภายในอันยาวนาน และการขยายพื้นที่เพาะปลูกที่เป็นไปได้ยาก ทำให้การเพาะปลูกไม่พอกิน คนกะยันจำนวนหนึ่งจึงหนีสงคราม และความยากจน มาทำงานที่ประเทศไทยเพื่อส่งเงินกลับบ้าน โดยเฉพาะการโชว์ตัวตามหมู่บ้านท่องเที่ยวชาวเขาที่ถูกจัดตั้งขึ้น มะเฉียงลูกสาวของเธอก็เป็นหนึ่งในนั้น
ภาพทุ่งนาขั้นบันไดในหมู่บ้านปาแป้ รัฐคะยา ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่ยังคงเหลือผู้หญิงกะยันที่สวมห่วงคอทองเหลืองมากที่สุดแห่งหนึ่งในพม่า เหตุผลหนึ่งอาจเป็นเพราะเป็นชุมชนกะยันที่มีประชากรอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก และการท่องเที่ยวที่ส่งเสริมให้คนในวัยสาวกลับมาสวมใส่ห่วงคอเพื่อการขายของให้นักท่องเที่ยว แต่ความจริงแล้วชาวกะยันนั้นมีอาชีพกสิกรรมเป็นหลัก นาข้าวขั้นบันไดที่เห็นนี้แต่ละครอบครัวมีพื้นที่เพาะปลูกส่วนใหญ่คนละเพียงไร่สองไร่เท่านั้น ทำให้ไม่เพียงพอต่อการเลี้ยงสมาชิกในครอบครัว จึงต้องหาอาชีพเสริม ซึ่งการนำเอาจุดเด่นเรื่องห่วงคอที่สวมใส่มาขาย จึงเป็นการหารายได้ที่เป็นไปได้มากที่สุด
ยายดอมูไซ ในวัย 85 ปียังเป็นคงเป็นเพียงคนหนึ่งในสี่คนของหมู่บ้าน โลพูดอคู ในรัฐกะยาที่ยังสวมห่วงคออยู่ เธอมีห่วงที่คอ 26 วง และที่ขา 44x2 วงคนที่ยังสวมก็เป็นผู้หญิงสูงวัยในวัยกว่า 60 ปีขึ้นไป สำหรับคนในวัยสาวจะสวมใส่เฉพาะในงานประเพณีประจำปีหรือในการต้อนรับแขกที่สำคัญของชุมชน หรือเพื่อการค้าขาย โดยห่วงที่สวมใส่ก็เป็นห่วงที่ถอดได้และมีน้ำหนักเบา ทุกวันนี้ดอมูไซ ไม่สามารถทำงานได้ หรือไปร่วมงานพิธีอะไรของหมู่บ้าน ชีวิตเธอจึงวนเวียนอยู่รอบบ้านของเธอ วัฒนธรรมประเพณีการสวมใส่ห่วงคอทองเหลืองในที่สุดก็อาจจากไปพร้อมกับคนรุ่นของเธอ
ในบรรดาผู้หญิงที่ยังใส่ห่วงคอนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นคนมีอายุแล้ว ส่วนคนอายุน้อย หากไม่ใส่ห่วงที่สามารถถอดได้ ก็จะเป็นคนที่ไปทำงานในสถานที่่ท่องเที่ยวที่จัดไว้ให้ชม ในหมู่บ้านชาวกะยัน จึงเหลือคนรุ่นใหม่ที่ยังใส่ห่วงคอจริงๆน้อยมาก คนที่ยังสวมห่วงเพราะวัฒนธรรมจึงแทบไม่มี รวมถึงภาพที่เป็นธรรมชาติเช่นนี้ที่พวกเธอเกี่ยวข้าว ทำการเกษตรแบบวิถีชีวิตดั้งเดิมจริงๆ
คุณยายโมทเยีย วัย 78 ปีกำลังโพสเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ถ่ายรูปของเธอ สำหรับเธอแล้วการใส่ห่วงตั้งแต่เด็กเป็นวัฒนธรรมที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ทุกวันนี้เธอยังใส่ห่วงเป็นชีวิตประจำวัน แต่ในขณะเดียวกันมันก็สามารถทำเงินให้เธอได้ในบรรดาผู้หญิงที่ยังใส่ห่วงคอนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นคนมีอายุแล้ว ส่วนคนอายุน้อย หากไม่ใส่ห่วงที่สามารถถอดได้ ก็จะเป็นคนที่ไปทำงานในสถานที่่ท่องเที่ยวที่จัดไว้ให้ชม ในหมู่บ้านชาวกะยัน จึงเหลือคนรุ่นใหม่ที่ยังใส่ห่วงคอจริงๆน้อยมาก คนที่ยังสวมห่วงเพราะวัฒนธรรมจึงแทบไม่มี
มะดัน หรือ นุช เป็นหญิงชาวกะยันอีกคนที่เกิดในลอยก่อ รัฐกะยา ชีวิตวัยเด็กของเธอค่อนข้างลำบาก พ่อมีภรรยาใหม่และอพยพมาไทย ทิ้งภรรยาและลูกๆ ให้เผชิญชีวิตตามลำพัง นุช คือหนึ่งในหญิงสาวชาวกะยันลาหวิที่เพิ่งมาใส่ห่วงทองเหลือง เมื่ออพยพหนีความยากแค้นมาอยู่บ้านนายสอยเมื่อ 25 ปีที่แล้ว ด้วยเหตุผลเรื่องความยากจน และสงคราม จากที่ต้องดิ้นรนต่อสู้ตั้งแต่เด็ก ทำให้นุชเป็นคนแกร่ง และไม่กลัวที่จะเผชิญสิ่งใหม่ๆ และบุกเบิกไปข้างหน้า เธอตัดสินใจมาทำงานที่พัทยาและสวนนงนุช เพื่อลูกๆ และครอบครัวของเธอ แม้เธอจะไม่ค่อยมีโชคในเรื่องของความรัก
มะบก เป็นหนึ่งในสาวชาวกะยันที่ไม่เคยใส่ห่วงคอเมื่ออยู่ในพม่า แต่เมื่อเธอตัดสินใจที่จะมาทำงานในเมืองไทย เธอจึงต้องใส่เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้ซื้อของๆในร้านเธอ ปัจจุบันมีชาวกะยันที่สวมห่วงในประเทศไทยมากกว่าประเทศต้นกำเนิดอย่างในพม่าเสียอีก โดยกระจัดกระจายไปตามแหล่งท่องเที่ยวต่างๆทั่วประเทศ
อันโทนิย่า สาวกะยันจากเมืองลอยก่อ รัฐกะยา เคยมีความฝันที่จะเป็นนักร้อง แต่ด้วยการขาดการสนับสนุนจากพ่อแม่ เธอจึงหันไปตีมวยพม่า ปัจจุบันเธอหันมาสู่เวที MMA ซึ่งเป็นการต่อสู้แบบศิลปผสมในเวที One Championship เธอกล่าวว่าเธออยากทำให้คนพม่ามีความสุข เพราะว่าพม่าเป็นประเทศที่อยู่ท้ายๆของแทบทุกๆเรื่อง ชัยชนะและการเป็นแชมเปี้ยนของเธอจะทำให้ชาวพม่ามีความสุขได้ และการที่เธอเป็นคนกะยัน ก็จะทำให้ชาวกะยันเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก บางครั้งการที่เธอใส่ห่วงคอ ก็เพื่อบอกให้ชาวโลกได้รับรู้ว่าใครคือกะยัน
อุปกรณ์การถ่ายทำ
กล้อง : Lumix S1, LumixS1R
เลนส์ : Lumix S Pro 50 mm., Lumix S Pro 70-200 mm., Lumix S 24-105 mm.
สุเทพ กฤษณาวารินทร์ ในฐานะช่างภาพสารคดีที่มีประสบการณ์ ได้เก็บบันทึกภาพเหตุการณ์ ประเด็นต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และมนุษยธรรม มาตลอดเวลากว่า 20 ปี โดยยึดหลักในการทำงานว่า ช่างภาพสารคดีเป็นเพียงผู้สังเกตการณ์ทางสังคม และวัฒนธรรมเท่านั้น ในการทำสารคดีแต่ละครั้งเขาทุ่มเทเวลาไปกับทำความเข้าใจประเด็นที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งสร้างความไว้วางใจ และมิตรภาพในชุมชม หรือเจ้าของเรื่องที่เป็นประเด็น ซึ่งนั่นทำให้เขาได้ผลงานภาพที่ทรงพลัง และถ่ายทอดเรื่องราวในสารคดีได้อย่างลึกซึ้ง ผลงานของเขาจึงโดดเด่นและเป็นที่สนใจในระดับสากล และปัจจุบันได้ผลิตสารคดีในนาม Pale Blue Dot
เยี่ยมชมผลงานได้ที่ : https://www.facebook.com/suthepphoto/
: https://www.facebook.com/PaleBlueDotThailand/
บทความแนะนำ
เบื้องหลังสารคดีคนชายขอบ by Lumix S Series
คนชายขอบ ลมหายใจสุดท้าย...มอแกน
คนชายขอบ ห่วงคอวง
คนชายขอบ โตนเลสาบ ในวันที่ปลาหายไป
ยายมูเผ้า
ไร่ถั่ว
ปิ้งปลา
นวด
เผา
โบสถ์กลางหุบเขา
เปลี่ยนห่วง
ไทม์แลป
เทียมดำน้ำ
หญิงกะยันอาบน้ำ
หาปลา
Prek Trol Bird
เด็กเล่นปืน
เทียมโดดน้ำหาปลา
ผลิตภัณฑ์แนะนำ
DC-S1H
กล้อง DSLM (กล้องดิจิตอลมิเรอร์เลสเลนส์เดี่ยว) แบบฟูลเฟรม พร้อม V-Log/V-Gamut ที่มีไดนามิกเรนจ์ 14+ สต็อป การถ่ายภาพแบบฟูลเฟรม 6K และการบันทึก Cinema 4K/4K 60p/50p 10 บิต