คนชายขอบ
"คนชายขอบ" คือสารคดีที่นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับชนเผ่าต่างๆ ในภูมิภาคเอเชีย ที่มีเอกลักษณ์ไม่ว่าจะเป็นทางด้านวัฒนธรรม หรือวิถีชีวิต
ความแตกต่างทำให้คนกลุ่มนี้ถูกผลักดันไปสู่ชายขอบ ไม่ใช่เพียงชายขอบดินแดนประเทศ แต่เป็นชายขอบของสังคมปัจจุบัน
สารคดีชุดนี้ถ่ายทำด้วยกล้อง และเลนส์ Lumix S Series โดยทีมงานสารคดี Pale Blue Dot นำโดย สุเทพ กฤษณาวารินทร์ ช่างภาพสารคดีมืออาชีพที่มีประสบการณ์มายาวนาน ออกอากาสทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
ติดตามชมสารคดีได้ที่ https://program.thaipbs.or.th/KonChayKhob
ลมหายใจสุดท้าย...มอแกน
ลุงปะดะ พรานมอแกนรุ่นใหญ่ แห่งบ้านตงปะแลอ่อ บนเกาะทายอ ทาดานจี แกนับว่าเป็นคนมอแกนไม่กี่คนที่ยังใช้วิธีดำน้ำแบบดั้งเดิม ทั้งการใช้แว่นที่ทำจากไม้ด้วยมือ การใช้ฉมวกแทงปลา และดำโดยไม่ใช้ท่ออากาศ ทุกวันนี้วิถีชีวิตชาวมอแกนในพม่าเปลี่ยนไปมาก แม้แต่ในหมู่เกาะที่ห่างไกลในหมู่เกาะมะริด ส่วนหนึ่งเป็นเพราะผู้คนที่อพยพเข้ามาใหม่ เช่น คนกระเหรี่ยง หลังจากเหตุการณ์ไซโคลนนากีส หรือคนพม่า ที่มาแล้วกลายเป็นนายบนเกาะ โดยคนมอแกนส่วนใหญ่กลายเป็นลูกจ้าง เป็นหนี้สิน และต้องดำน้ำโดยใช้ปั๊มลมเป็นเวลานานนาน ทำให้หลายคนเป็นโรคน้ำหนีบเสียชีวิต บางคนก็ติดยาบ้า
ในอดีต การดำน้ำจะใช้ทักษะส่วนตนล้วนๆ เด็กๆ มอแกนจึงได้ชื่อว่าว่ายน้ำเป็นก่อนที่จะเดินเสียอีก เป็นที่น่าเศร้าว่าเดี๋ยวนี้ต้องมีโครงการสอนเด็กมอแกนให้ว่ายน้ำ แม้แต่เทียมเองที่ดำน้ำมาตั้งแต่เด็กในพม่า จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต เมื่อย้ายมาอยู่บนเกาะสุรินทร์ก็ต้องเริ่มปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ปัจจุบันชีวิตของชาวมอแกนในหมู่เกาะสุรินทร์ ต้องพึ่งพารายได้จากนักท่องเที่ยวเป็นหลัก โดยในฤดูการเปิดเกาะระหว่างเดือนพฤศจิกายน จนถึงเดือนพฤษภาคม ชาวมอแกนส่วนใหญ่ หากไม่ทำงานให้อุทยานแห่งชาติ ก็จะทำงานให้บริษัททัวร์ ซึ่งเทียมก็เป็นหนึ่งในนั้น ช่วงเวลานี้จะไม่ได้ดำน้ำเพื่อหาปลา จนเมื่อเข้าสู่ฤดูมรสุมที่ปิดเกาะ ชาวมอแกนต้องอยู่และพึ่งตนเองด้วยการหาปลา จึงต้องปรับสภาพร่างกาย
เทียม หนุ่มมอแกนจากเกาะซาดาจีในพม่า ทิ้งความยากแค้นในพม่ากลับมาอยู่กับพ่อที่ระนอง และสุดท้ายได้มาแต่งงานกับสาวมอแกนบนเกาะสุรินทร์ บ้านเกิดของพ่อ ทุกวันนี้เทียมอยู่อย่างคนไร้ตัวตน เมื่อหลักฐานการมีอยู่ของเขาในฐานะลูกของประชาชนไทย ถูกไฟไหม้ไปเมื่อต้นปี 2562 ทุกวันนี้เทียมเมื่อขึ้นบนฝั่งก็มักกลัวจะถูกตำรวจจับ ไปโรงพยาบาลก็กลัวไม่มีเงินจ่าย
เทียม เล่าว่าชีวิตความเป็นอยู่ในพม่ายากลำบากมาก ต้องพายเรือไปหาปลา นอนค้างแรมคนเดียวหลายๆ คืน มอแกนบางคนยังใช้ "ดอไม" หรือไดนาไม๊ เพราะได้รับการว่าจ้างจากนายทุน และติดยาบ้า ทำให้บางคนถูกจับติดคุก แม้ว่าชีวิตปัจจุบันในไทยจะไม่เสี่ยงเหมือนในพม่า แต่การงมหอยโข่งมุกในเวลากลางคืนก็อันตรายไม่แพ้กัน เมื่อหลายคนรวมทั้งเทียมต้องบาดเจ็บจากถูกปลาโทงแทง บางคนต้องเสียชีวิต เมื่อถูกแทงเข้าหัวใจ
ในอดีตเรือที่ชาวมอแกนใช้จะเป็นเรือขุด ที่ขุดจากไม้ทั้งต้นเท่านั้น ซึ่งในปัจจุบันเรือเหล่านี้ลดน้อยหายไปมาก เนื่องจากไม่สามารถหาไม้มาทำเรือได้อีกต่อไป เพราะอยู่ในเขตของอุทยานแห่งชาติ และผู้เฒ่าที่ขุดเรือเหล่านี้เป็นก็ล้มหายตายจากไปมาก แม้แต่ในพม่าเอง เรือขุดเหล่านี้ก็พบเห็นได้ไม่มากนัก เพราะเรือสมัยใหม่ที่ใช้เครื่องเข้ามาแทนที่การพาย เรือของชาวมอแกนจะมีสองแบบ แบบหนึ่งคือคือเรือก่าบาง เป็นเรือบ้านที่มีใบไว้แล่นไปไกลๆ ตามเกาะแก่งต่างๆ และใช้เป็นที่หลับนอน ส่วนเรือพายลำเล็กที่เห็นในรูปนี้คือเรือคาปันที่
ในหมู่เกาะมะริดของพม่า เรือประมงขนาดใหญ่สามารถเข้ามาหากินใกล้กับเกาะหรือชายฝั่ง ทำให้ชนพื้นเมืองอย่างมอแกนไม่สามารถทำมาหากินแข่งกับผู้มาใหม่อย่างพม่า หรือกระเหรี่ยง ที่นำเครื่องมือหาปลาที่มีประสิทธิภาพกว่า และเรือยนต์ขนาดใหญ่กว่ามาหากินได้ ทุกวันนี้ชาวมอแกนจากที่เคยเป็นอิสระ และเป็นนายตนเองกลายเป็นหนี้ เป็นลูกจ้างไป ถูกยึดที่ยึดเรือก็มี กลายเป็นทาสยุคใหม่ที่ไร้อิสระในการดำรงชีพอย่างที่เคยเป็น
อาทิตย์ เชี่ยวชาญ หรือ ปุ๊กกี้ สาวประเภทสอง เกิดและเติบโตที่หมู่บ้านไทยใหม่ หาดราไวย์ นางโชว์เป็นอาชีพที่ปุ๊กกี้รัก และทำมามากว่าสิบปี ปุ๊กกี้เป็นชาวมอแกนโดยกำเนิด แต่เธอพูดมอแกนไม่ได้ คนรุ่นที่ยังพูดได้จะเป็นคนรุ่นแม่เธอซึ่งมีอายุราว 60 ปีขึ้นไป เนื่องจากมอแกนที่หาดราไวย์นี้เป็นคนกลุ่มน้อย อาศัยอยู่ท่ามกลางคนอุรักราโว้ย ซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่ วัฒนธรรมของชาวมอแกนจึงถูกกลืนไปกับวัฒนธรรมของคนอุรักราโว้ย ซึ่งมีความคล้ายคลึงกัน
เด็กๆ มอแกนและอุรักราโว้ย กำลังเล่นบอลบนถนนในเวลาเที่ยงคืน ชุมชนชาวเลแห่งนี้ พื้นที่ส่วนหนึ่งอยู่ในข้อพิพาท และฟ้องร้องระหว่างชาวบ้านหาดราไวย์ และบริษัทเอกชน ซึ่งอ้างสิทธิ์ในที่ดิน รวมถึงพื้นที่ส่วนกลางที่ทำกิจกรรมกลางแจ้ง ทำให้ชาวบ้านนอกจากจะไม่สามารถขยับขยายได้ เด็กๆ ก็ต้องเสี่ยงมาเล่นบนถนน แม้จะเป็นเวลากลางคืนก็ตาม
อุปกรณ์การถ่ายทำ
กล้อง : Lumix S1, LumixS1R
เลนส์ : Lumix S Pro 50 mm., Lumix S Pro 70-200 mm., Lumix S 24-105 mm.
สุเทพ กฤษณาวารินทร์ ในฐานะช่างภาพสารคดีที่มีประสบการณ์ ได้เก็บบันทึกภาพเหตุการณ์ ประเด็นต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และมนุษยธรรม มาตลอดเวลากว่า 20 ปี โดยยึดหลักในการทำงานว่า ช่างภาพสารคดีเป็นเพียงผู้สังเกตการณ์ทางสังคม และวัฒนธรรมเท่านั้น ในการทำสารคดีแต่ละครั้งเขาทุ่มเทเวลาไปกับทำความเข้าใจประเด็นที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งสร้างความไว้วางใจ และมิตรภาพในชุมชม หรือเจ้าของเรื่องที่เป็นประเด็น ซึ่งนั่นทำให้เขาได้ผลงานภาพที่ทรงพลัง และถ่ายทอดเรื่องราวในสารคดีได้อย่างลึกซึ้ง ผลงานของเขาจึงโดดเด่นและเป็นที่สนใจในระดับสากล และปัจจุบันได้ผลิตสารคดีในนาม Pale Blue Dot
เยี่ยมชมผลงานได้ที่ : https://www.facebook.com/suthepphoto/
: https://www.facebook.com/PaleBlueDotThailand/
บทความแนะนำ
เบื้องหลังสารคดีคนชายขอบ by Lumix S Series
คนชายขอบ ลมหายใจสุดท้าย...มอแกน
คนชายขอบ ห่วงคอวง
คนชายขอบ โตนเลสาบ ในวันที่ปลาหายไป
ยายมูเผ้า
ไร่ถั่ว
ปิ้งปลา
นวด
เผา
โบสถ์กลางหุบเขา
เปลี่ยนห่วง
ไทม์แลป
เทียมดำน้ำ
หญิงกะยันอาบน้ำ
หาปลา
Prek Trol Bird
เด็กเล่นปืน
เทียมโดดน้ำหาปลา
ผลิตภัณฑ์แนะนำ
DC-S1H
กล้อง DSLM (กล้องดิจิตอลมิเรอร์เลสเลนส์เดี่ยว) แบบฟูลเฟรม พร้อม V-Log/V-Gamut ที่มีไดนามิกเรนจ์ 14+ สต็อป การถ่ายภาพแบบฟูลเฟรม 6K และการบันทึก Cinema 4K/4K 60p/50p 10 บิต