เปลี่ยนห่วง
การเดินทางของชาวกะยัน เพื่อการดำรงอยู่ ผ่านร้อนผ่านหนาวมาหลายชั่วคน
การสวมใส่ห่วงคอของหญิงชาวกะยัน ตั้งแต่ในอดีตมาจนถึงปัจจุบัน เป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่น ที่ทั่วโลกมองเห็นและควรค่าแก่การดำรงอยู่ สมัยก่อนการใส่ห่วงคอส่วนบุคคลนั้นเป็นเครื่องประดับ ช่วยเสริมให้นางผู้สวมใส่ แลดูสง่าสวยงาม และแฝงถึงการบ่งบอกระดับฐานะที่ดีในสังคม ใครมีห่วงทองเหลืองประดับมาก ก็รวยมาก
จนมาถึงปัจจุบัน การสวมห่วงทองเหลือง มีจุดประสงค์เปลี่ยนไป หลายทิศทาง ห่วงทองเหลืองเองก็ถูกสร้างขึ้นมาใหม่ ผู้สวมใส่ สามารถถอดได้ง่ายด้วยตนเอง และสวมใส่สบายขึ้นเพราะทำให้ห่วงทองเหลืองเบาขึ้นมากกว่าเดิม
ภาพการเปลี่ยนห่วงทองเหลืองให้ยาวขึ้น จากห่วงเดิมที่ใส่มาแล้วสองถึงสามปี ก็จะเปลี่ยนห่วงเก่าใส่ห่วงใหม่ ใส่แบบนี้จนเต็มหรือจนเกิน 25 ห่วง จึงจะหยุดใส่ องค์ความรู้แบบนี้มีให้เห็นกันไม่มากแล้ว เป็นสิ่งที่หาชมได้ยาก เมื่อสภาพสังคมของเผ่ากะยัน ค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ความนิยมในการใส่ห่วงคอค่อยๆ ลดลง คนรุ่นลูกยังมีใส่ให้เห็น บ้างใส่เพราะชอบ บ้างใส่เพราะต้องทำงานให้นักท่องเที่ยวถ่ายรูปขายภาพลักษณ์ความเป็นชนเผ่าตามสถานที่ท่องเที่ยว ส่วนคนรุ่นหลาน ถ้าต้องไปโรงเรียนก็เลิกใส่ เพราะไม่สะดวก จะใส่บางครั้งที่มีการแสดงของเด็กๆ คนรุ่นเก่าที่ใส่อยู่แล้วก็ให้อิสระลูกหลานไม่ได้บังคับ ชอบก็ใส่ ไม่ชอบก็ไม่เป็นไร นับจากนี้ ความนิยมชมชอบในการใส่ห่วงคอ ยังคงลดลงไปเรื่อยๆ จนอาจจะมาถึง จุดสุดท้าย...
* ส่วนหนึ่งจากสารคดีคนชายขอบ ตอน ห่วงคอวงสุดท้ายของกะยัน ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
** ถ่ายทำโดย Lumix S Series
สุเทพ กฤษณาวารินทร์ ในฐานะช่างภาพสารคดีที่มีประสบการณ์ ได้เก็บบันทึกภาพเหตุการณ์ ประเด็นต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และมนุษยธรรม มาตลอดเวลากว่า 20 ปี โดยยึดหลักในการทำงานว่า ช่างภาพสารคดีเป็นเพียงผู้สังเกตการณ์ทางสังคม และวัฒนธรรมเท่านั้น ในการทำสารคดีแต่ละครั้งเขาทุ่มเทเวลาไปกับทำความเข้าใจประเด็นที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งสร้างความไว้วางใจ และมิตรภาพในชุมชม หรือเจ้าของเรื่องที่เป็นประเด็น ซึ่งนั่นทำให้เขาได้ผลงานภาพที่ทรงพลัง และถ่ายทอดเรื่องราวในสารคดีได้อย่างลึกซึ้ง ผลงานของเขาจึงโดดเด่นและเป็นที่สนใจในระดับสากล และปัจจุบันได้ผลิตสารคดีในนาม Pale Blue Dot
เยี่ยมชมผลงานได้ที่ : https://www.facebook.com/suthepphoto/
: https://www.facebook.com/PaleBlueDotThailand/
บทความแนะนำ
เบื้องหลังสารคดีคนชายขอบ by Lumix S Series
คนชายขอบ ลมหายใจสุดท้าย...มอแกน
คนชายขอบ ห่วงคอวง
คนชายขอบ โตนเลสาบ ในวันที่ปลาหายไป
ยายมูเผ้า
ไร่ถั่ว
ปิ้งปลา
นวด
เผา
โบสถ์กลางหุบเขา
เปลี่ยนห่วง
ไทม์แลป
เทียมดำน้ำ
หญิงกะยันอาบน้ำ
หาปลา
Prek Trol Bird
เด็กเล่นปืน
เทียมโดดน้ำหาปลา
ผลิตภัณฑ์แนะนำ
DC-S1H
กล้อง DSLM (กล้องดิจิตอลมิเรอร์เลสเลนส์เดี่ยว) แบบฟูลเฟรม พร้อม V-Log/V-Gamut ที่มีไดนามิกเรนจ์ 14+ สต็อป การถ่ายภาพแบบฟูลเฟรม 6K และการบันทึก Cinema 4K/4K 60p/50p 10 บิต