LEICA DG Lens Story - การเดินทางเพื่อค้นพบการเปลี่ยนแปลงในการถ่ายภาพ
LEICA DG VARIO-ELMAR 100-400 มม. / F4.0-6.3 ASPH / POWER O.I.S.
1. Development background
ความปรารถนาที่จะนำโลกแห่งอัลตร้าซูมไปสู่คนหมู่มาก
ให้คุณได้มีโอกาสใกล้ชิดกับ สัตว์ป่า นก หรือแม้แต่เกมกีฬา เพื่อได้เห็นรายละเอียดของวัตถุที่อยู่ไกลจนเกินกว่าตาเปล่าจะมองเห็นได้เพียงการซูมเข้าไป ผ่านช่องมองภาพ แล้วลั่นชัตเตอร์ แต่เราก็ทราบดีว่าการมองผ่านช่องมองภาพทำให้เห็นภาพแคบกว่าที่เราสามารถมองเห็นด้วยตาตนเองมากมายนัก เรื่องของการเฟรมภาพจึงถือเป็นความท้าทายที่สำคัญ ซึ่งเราทราบว่าคุณต้องการอัลตร้าซูมที่พกพาสะดวก ทีมพัฒนาผู้มีความเชี่ยวชาญของเราต้องการให้คุณได้รับความพึงพอใจ และน่ามหัศจรรย์ สัมผัสกับความงดงามอย่างที่มีในเลนส์อัลตร้าซูมเท่านั้น ความปรารถนาเช่นนี้ได้ก่อให้เกิดเลนส์ใหม่ที่น่าตื่นเต้นขึ้นมา...
[หมายเหตุทางเทคนิค #1]
เลนส์ Four Thirds มาตรฐานครอบคลุมมุมมองเหมือนสายตามนุษย์ มีทางยาวโฟกัส 25 มม.*1 ซูมได้ถึง 400 มม.,*2 ภาพในช่องมองภาพมีขนาดใหญ่กว่าที่เราสามารถมองเห็นโดยไม่มีเครื่องช่วย 16 เท่า ในเวลาเดียวกัน พื้นที่ซึ่งคุณสามารถมองเห็นได้ในช่องมองภาพก็มีขนาดเล็กกว่า 256 เท่า การจะทำให้ได้ตามเป้าหมายที่มีขนาดเล็กจิ๋วเช่นนั้นจำเป็นต้องพึ่งพาเทคโนโลยี อัลตร้าซูม (DSLR) แบบดั้งเดิม ต้องใช้ความพยายามสั่งสมทักษะ และเสริมสร้างกล้ามเนื้อที่ต้องใช้ในการแบกเลนส์ที่มีน้ำหนักมาก
*1 เทียบเท่าระบบกล้อง 35 มม: 50 มม.
*2 เทียบเท่าระบบกล้อง 35 มม: 800 มม.
F5.7, 1/4000 sec, ISO 400
©Daniel J. Cox
2. Development aims
เปิดโลกของเลนส์อัลตร้าซูม
ตามหลักการแล้ว เลนส์ทุกตัวควรมีขนาดกะทัดรัดและน้ำหนักเบา แต่ในความเป็นจริง ยิ่งเลนส์มีทางยาวโฟกัสมากเท่าไหร่ก็จะยิ่งมีความยาวของตัวเลนส์มากเท่านั้น เส้นผ่าศูนย์กลางด้านนอกของมันก็เพิ่มขึ้นด้วย
ความท้าทายของเราคือการทำให้ได้ภาพที่มีคุณภาพดีที่สุดโดยอาศัยการแก้ไขความพร่าแสง*1 และต้องใช้ชิ้นเลนส์เพิ่มขึ้นเพื่อให้ได้สมรรถภาพดีที่สุด ต้องใช้ชิ้นเลนส์แบบ ED*2 ซึ่งมีความหนาแน่นและหนัก ชิ้นเลนส์เหล่านี้มีเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่ จึงทำให้ตัวเลนส์มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น และมีขนาดใหญ่ขึ้น ความท้าทายของเราคือต้องทำเลนส์อัลตร้าซูมออกมาให้คุณสามารถพกพาติดตัวได้สะดวกสบาย น้ำหนักเบา โดยไม่ต้องใช้ขาตั้งกล้อง
[หมายเหตุทางเทคนิค #2]
สำหรับบอดี้กล้อง 35 มม. ขนาดปกติ เลนส์ 400 มม.จะมีความยาวอย่างน้อย 30 ซม. และหนักได้ถึง 4 กก. เมื่อรวมกับบอดี้ ขาตั้งกล้อง และอุปกรณ์จำเป็นอื่น ๆ แล้ว จึงนับเป็นภาระที่หนักอึ้งมาก
3. Image quality goals
ให้คุณสัมผัสพลังของเลนส์ Leica DG
ศักยภาพของเลนส์แบบถอดเปลี่ยนได้ขึ้นอยู่กับพลังการแสดงออกของมัน ในการออกแบบเลนส์นี้ ความท้าทายยิ่งใหญ่ที่สุดคือการหาองค์ประกอบเพื่อให้ได้มาซึ่งเลนส์ที่มีรูปทรงกะทัดรัด ที่สามารถให้คุณภาพของภาพในระดับสูงสุด จากมุมสู่มุม ตลอดทั่วทั้งเฟรม เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์นี้ เลนส์ตัวนี้จึงมีโครงสร้างแบบซูมผันแปรตลอดช่วงความยาว ซึ่งใช้เลนส์จำนวน 20 ชิ้นจัดเรียงกันเป็น 13 กลุ่ม ในกลุ่มหน้ามีเลนส์ UED*2 ทำหน้าที่จับแสงจากวัตถุ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะมีประสิทธิภาพการรับภาพดีเยี่ยมตลอดช่วงการซูม เพื่อลดความคลาดเคลื่อนของสี (chromatic aberration) จึงได้มีการวางเลนส์ ED สี่ตัวไว้ตรงตำแหน่งสำคัญ ๆ
นอกจากนี้ เพื่อให้ได้ภาพความละเอียดสูงอย่างคงที่ตลอดช่วงจากอินฟีนีตี้จนถึงระยะใกล้ ด้านในสุดของระบบเลนส์จะมีเลนส์ ED* aspheric ทำหน้าที่รวมแสงเข้าสู่เซ็นเซอร์ นี่หมายความว่าด้วยอัตราส่วนการขยายสูงสุดที่ 0.25 (0.5 เมื่อเทียบกับระบบกล้อง 35 มม.) คุณถึงกับสามารถถ่ายมาโครได้
F5.1, 1/2500 sec, ISO 640
©Daniel J. Cox
4. Specification goals
4.1 เลนส์อัลตร้าซูมในขนาดพกพาที่มีความโดดเด่น
เลนส์นี้ได้รับการออกแบบมาสำหรับใช้กับบอดี้กล้องระบบ Micro Four Thirds ที่มีเซ็นเซอร์รับภาพระยะแบบแนวทแยงครึ่งหนึ่ง กับหนึ่งส่วนสี่ของขนาดพื้นผิวของเซ็นเซอร์ในกล้องระบบ SLR 35 มม. หรือแบบ 'ฟุลเฟรม' เมื่อเทคโนโลยี mirrorless มาถึง การลดลงของระยะห่างจากหน้าแปลนด้านหลังก็เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้เลนส์ฟิชอาย อัลตร้าไวด์ และไวด์แองเกิลมาก ในไม่ช้าเลนส์ซึ่งมีทางยาวโฟกัสสั้นกว่าก็แสดงให้เห็นประสิทธิภาพที่พัฒนาขึ้นเป็นอย่างมาก รวมไปจนถึงการมีรูรับแสงที่กว้างขึ้น และแคบลง แม้ผลประโยชน์ดังกล่าวจะไม่ได้ตกมาถึงเลนส์เทเลโฟโต้ด้วย แต่ขนาดของเซ็นเซอร์ (บริเวณรับภาพ) ที่เล็กลงก็ช่วยให้สามารถลดขนาดของเลนส์ได้ และเราประสบความสำเร็จในการลดน้ำหนักลงไปได้จนเหลือ 985 กรัม หรือประมาณหนึ่งในสี่ของน้ำหนักเลนส์ 400 มม.สำหรับกล้องในระบบ 35 มม. ในการออกแบบอัลตร้าซูมนี้ นอกเหนือไปจากการลดขนาด เรายังประสบความสำเร็จในการสร้างเลนส์อัลตร้าซูม 800 มม.* ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อบอดี้กล้องแบบ Micro Four Thirds ด้วย - ซึ่งนับเป็นเลนส์เทเลโฟโต้แบบถอดเปลี่ยนได้ที่ยาวที่สุดสำหรับมาตรฐานนี้ เนื่องจากเลนส์ตัวนี้เล็กกว่าและเบากว่าจึงใช้งานสะดวก และมักถูกใช้ในงานกลางแจ้งเป็นส่วนมาก เราจึงเสริมซีลป้องกันฝุ่นและน้ำกระเซ็น เพื่อให้คุณสามารถถ่ายภาพได้อย่างมั่นใจในทุกสภาพแวดล้อม นอกจากนี้ เราจึงได้เสริมกลไกการล็อกซูมริง และปลอก (collar) แบบหมุน 90° ได้สำหรับติดกับขาตั้งกล้อง เพื่อให้คุณถ่ายภาพได้ในหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นแบบพอร์เทรต หรือแลนด์สเคป เพิ่มความสามารถในการพกพา และความสะดวกในการใช้งานให้อยู่ในระดับสูงสุด เรามุ่งมั่นที่จะพัฒนาให้อัลตร้าซูมตัวนี้มีความคล่องตัวสำหรับคุณมากที่สุด
* เทียบเท่าระบบกล้อง 35 มม.
4.2 เลนส์อัลตร้าซูมสำหรับภาพถ่ายแบบ 4K
เทคโนโลยี Mirrorless ได้ถูกนำมาใช้ในเครื่องมือการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย จากการถ่ายภาพนิ่งไปจนถึงการถ่ายวิดีโอ 4K ซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้เป็นวิธีการใหม่สำหรับจับภาพในช่วงเวลาพิเศษได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น นก สัตว์ป่า กีฬา หรือวัตถุที่เคลื่อนที่เร็ว 4K จึงเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยให้คุณไม่พลาดในการเก็บภาพ "โอกาสสำคัญ"
F6.3, 1/2000 sec, ISO 800
©Daniel J. Cox
[หมายเหตุทางเทคนิค #3]
การใช้เลนส์เทเลโฟโต้ยาว ๆ เพื่อมองหาเป้าหมายผ่านช่องมองภาพอาจเป็นเรื่องยาก ซึ่งเลนส์อัลตร้าซูมอาจสะดวกกว่า ด้วยมุมมองที่กว้างกว่าจึงหาตำแหน่งของวัตถุที่ต้องการจะช่วยให้คุณสามารถซูมเข้าไปถ่ายภาพได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
5. Unique technologies behind the products
5.1 เทคโนโลยี Anti-shake
การชดเชยการสั่นไหวของมือได้อย่างมีประสิทธิภาพช่วยให้คุณสามารถถ่ายภาพโดยใช้มือถือกล้องได้อย่างเพลิดเพลิน ในบางกรณีที่คุณใช้เลนส์เทเลโฟโต้ซึ่งมีทางยาวโฟกัสมาก การเคลื่อนไหวเพียงเล็กน้อย อาจส่งผลให้ภาพมีอาการไหวเบลอได้ Fuzzing Effect ยังส่งผลให้ภาพยนตร์ไม่น่าดู ดังนั้น เลนส์อัลตร้าซูมตัวนี้จึงมาพร้อมเซ็นเซอร์แบบไจโรประสิทธิภาพสูง และโรลเลอร์แบบลูกปืนเพื่อช่วยลดการสั่นไหว สิ่งเหล่านี้ได้รับการควบคุมโดยระบบ Power O.I.S. ความสามารถสูง ที่ตรวจจับและแก้ไขการสั่นไหวทั้งในแบบความถี่สูงและต่ำ
เลนส์ตัวนี้ยังสามารถใช้ได้กับบอดี้กล้องแบบมีการแก้ไขการสั่นชนิด Dual I.S.2 ในตัวอีกด้วย เนื่องจากเป็นระบบชดเชยที่ทำงานสอดประสานกันทั้งภายในตัวกล้องและในเลนส์ Dual I.S.2 จึงสามารถทำการแก้ไขการสั่นไหวได้ในระดับยอดเยี่ยม
5.2 Inner focus กับ zoom tracking control
การเคลื่อนกลุ่มเลนส์สำหรับโฟกัสภายในกระบอกเลนส์ (inner focusing*3) สำหรับควมคุมการซูม (Zoom Tracking Control) ซึ่งเป็นคุณสมบัติพิเศษของเลนส์อัลตร้าซูมนี้ที่ใช้เลนส์กลุ่มเดียวในการโฟกัส นอกจากนี้ ตัวกระตุ้นให้ทำงาน (Actuator) ที่ใช้สำหรับควบคุมการโฟกัสยังเป็นมอเตอร์แบบลีเนียร์ที่ทำงานเงียบ เริ่มต้นทำงานไว อีกทั้งยังมีอัตราการเร่งทรงพลัง อัลตร้าซูมตัวนี้จึงพรั่งพร้อมไปด้วยเทคโนโลยีแบบเอ็กซ์คลูซีฟเพื่อให้การซูมมีเสถียรภาพยิ่งขึ้น เราได้รวบรวมเทคโนโลยีในการควบคุมหลายตัวมาใช้ช่วยให้สามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงในการซูม และกำหนดตำแหน่งการโฟกัสได้อย่างแม่นยำ ทั้งยังประมวลผลข้อมูลระบบได้ด้วยความเร็วสูง
[ศัพท์เทคนิค]
*1 ความพร่าแสง (Optical Aberration)
ความพร่าแสงเป็นการบิดเบี้ยวของภาพที่เกิดขึ้นเมื่อแสงที่มีสีแตกต่างกันหักเหไม่เท่ากันในชิ้นแก้วของเลนส์ ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้เลนส์มักจะต้องประกอบด้วยชิ้นเลนส์ที่จับกลุ่มกันเป็นคู่ ๆ เพื่อแก้ไขความพร่าแสง ให้สีที่มองเห็นได้ทั้งหมดตกลงบนตำแหน่งเดียวกัน ชิ้นเลนส์ทั้งสองในแต่ละคู่จึงต้องทำด้วยแก้วต่างชนิดกัน เพื่อให้มีคุณสมบัติทางแสงแตกต่างกัน
*2 เลนส์ UED/ED (Ultra Extra-Low Dispersion)
เลนส์ที่ทำขึ้นจากแก้วแบบอ็อปติกอเนกประสงค์ตามแบบดั้งเดิมนั้น ยิ่งมีทางยาวโฟกัสมาก หรือมีมุมมองที่กว้างขึ้น ก็ยิ่งทำการแก้ไขความพร่าแสงได้ยากขึ้น ทำให้เป็นไปได้มากที่ภาพจะถูกลดทอนคอนทราสต์ลง และมีสีที่เบลอร์มากขึ้น เลนส์ UED/ED สามารถเอาชนะปัญหานี้ได้โดยนำคุณสมบัติที่พบได้ในปริซึมมาใช้แก้ไขปัญหาเรื่องความพร่าแสง ทำการแก้ไขทั้งความพร่าแสงในแนวแกนที่ปลายทางด้านเทเลโฟโต้ และความพร่าแสงในการขยายที่ปลายทางด้านไวด์แองเกิลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
*3 ระบบ Inner Focus System
มอเตอร์แบบสเต็ปปิงทำการโฟกัสโดยเคลื่อนกลุ่มเลนส์ภายใน เนื่องจากน้ำหนักรวมของเลนส์ที่ใช้โฟกัสส่งผลต่อความเร็วของการโฟกัสอัตโนมัติเป็นอย่างมาก และการเคลื่อนทั้งชุดเลนส์ได้รับการกำจัดออกไป inner focus จึงเป็นเทคโนโลยีที่มีความจำเป็นสำหรับเลนส์แบบ AF