ปรับปรุงผลที่มีต่อระบบทางเดินอาหาร
น้ำอัลคาไลน์ไอออนไนซ์ ช่วยบรรเทาอาการไม่สบายท้อง ช่วยให้การทำงานของกระเพาะอาหารดีขึ้น และบรรเทาอาการท้องผูก และยังดีต่ออาการดังต่อไปนี้ด้วย
ความเกี่ยวเนื่องอย่างใกล้ชิด ระหว่างลำไส้ และสมอง
ลำไส้ และสมอง มีการส่งสัญญาณถึงกันอย่างต่อเนื่อง
ในบางกรณีสิ่งนี้ อาจนำไปสู่ ผลเชิงลบ (1. รู้สึกเครียด; 2. การเคลื่อนไหวที่ผิดปกติของลำไส้, ปวดท้อง; 3. เพิ่มแบคทีเรียที่ไม่ดี ลดแบคทีเรียชนิดที่เป็นประโยชน์ในลำไส้ ; 4. มีแนวโน้มที่จะรู้สึกเครียดมากขึ้น)
*การควบคุมดูแลกองบรรณาธิการ: ชินิจิโร โอทาเกะ ประธานคลินิกระบบทางเดินอาหาร โอทาเกะ แก้ไข ณ วันที่ 3 มีนาคม 2564 โปรดทราบว่าข้อมูลนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้
แบคทีเรียในลำไส้—กุญแจสู่ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างลำไส้ และสมอง
แบคทีเรียในลำไส้ มีหน้าที่ในการจัดการสภาพแวดล้อมของลำไส้ แบคทีเรียชนิดดี เช่น แบคทีเรียกรดแลกติก และบิฟิโดแบคทีเรีย ไม่เพียงช่วยในการย่อยอาหาร และการดูดซึมเท่านั้น แต่ยังมีบทบาทสำคัญในการรักษาสุขภาพ ด้วยการควบคุมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
ในทางกลับกัน แบคทีเรียที่ไม่ดีหลายชนิด เช่น สตาฟิโลคอคคัส และ อี. โคไล สามารถก่อให้เกิด การเจ็บป่วยได้หลายอย่าง เนื่องจากพวกมันปล่อยก๊าซ และทำให้เกิดสารก่อมะเร็ง
เชื้อโรคฉวยโอกาส เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของแบคทีเรียในลำไส้
เชื้อเหล่านี้ไม่เป็นอันตรายสำหรับร่างกายที่แข็งแรง แต่จะเริ่มส่งผลเมื่อมีแบคทีเรียที่ไม่ดีเพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากสุขภาพไม่ดี แบคทีเรียเหล่านี้มีการเคลื่อนไหวในลักษณะเดียวกันกับแบคทีเรียหลักในลำไส้
นักวิทยาศาสตร์ ได้ค้นพบเมื่อเร็วๆ นี้ว่า ความไม่สมดุลของแบคทีเรียในลำไส้ ส่งผลให้แบคทีเรียที่ไม่ดีมีจำนวนเพิ่มขึ้นมากอย่างชัดเจน ซึ่งทำให้สูญเสียความหลากหลายของแบคทีเรียในลำไส้ อาจส่งผลให้สุขภาพไม่ดี และเกิดความผิดปกติต่างๆ ได้
แบคทีเรียในลำไส้ ไม่เพียงแต่เกี่ยวข้องกันกับความผิดปกติในการย่อยอาหารเท่านั้น แต่ยังรวมถึง ความผิดปกติอื่นๆ อีกมากมายที่จะนำไปสู่โรคที่เกิดจากการใช้ชีวิตของคนในยุคปัจจุบัน เช่นเดียวกับสภาวะที่คุ้นเคย เช่น โรคอ้วน
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีการค้นพบว่ากรดไขมันสายสั้น ซึ่งผลิตโดยแบคทีเรียในลำไส้ มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการรักษาแบคทีเรียในลำไส้ให้อยู่ในสภาพดี
*การควบคุมดูแลกองบรรณาธิการ: ชินิจิโร โอทาเกะ ประธานคลินิกระบบทางเดินอาหาร โอทาเกะ ข้อมูลนี้ เป็นข้อมูล ณ วันที่ 3 มีนาคม 2564 โปรดทราบว่า ข้อมูลนี้ อาจเปลี่ยนแปลงได้
การกำกับดูแลกองบรรณาธิการ
ชินิจิโร่ โอทาเกะ
ประธานคลินิกระบบทางเดินอาหาร โอทาเกะ
หลังจากสำเร็จการศึกษาจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยโกเบ โอทาเกะได้ทำงานในโรงพยาบาลหลายแห่ง โดยดูแลการส่องกล้องมากกว่า 10,000 ครั้ง นอกจากนี้เขายังปรากฏตัวในสื่อญี่ปุ่นหลายครั้ง โดยมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะพัฒนาการแพทย์ของญี่ปุ่นให้ดีขึ้น และใกล้ชิดกับคนไข้ของเขามากขึ้น ผลงานของเขาที่ตีพิมพ์ ได้แก่ 30 วิธี สู่สุขภาพลำไส้ที่ดีในสามสัปดาห์
ผลของน้ำอัลคาไลน์ ไอออไนซ์ ต่อกระเพาะอาหาร และลำไส้
ผลของยาแก้ท้องอืดเฟ้อ
อาสาสมัคร 6 คน ให้ความยินยอม ที่จะรับน้ำอัลคาไลน์ ไอออนไนซ์ ที่มีค่า pH9 pH10 และ pH11 โดยการดื่ม 1 ลิตร/วัน และผลจากการตรวจวัดค่า pH ภายในกระเพาะอาหารเป็นเวลา 24 ชั่วโมง ยืนยันได้ว่า ค่า pH ภายในกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้นจากการดื่มน้ำอัลคาไลน์ ไอออนไนซ์ ที่มีค่า pH9 ซึ่งบ่งชี้ถึงการมีผลต่อการควบคุมความเป็นกรด
*27 การประชุมใหญ่ของสมาคมวิทยาศาสตร์การแพทย์แห่งญี่ปุ่น เรื่อง “ประโยชน์ และความน่าเชื่อถือของน้ำอัลคาไลไอออน” พ.ศ. 2550
ปรับปรุงผลที่มีต่อระบบทางเดินอาหาร
ผู้ป่วยที่มีอาการทางระบบทางเดินอาหาร (ท้องเสียเรื้อรัง ท้องผูก การเพาะเชื้อที่ผิดปกติในลำไส้ อาหารไม่ย่อย อาหารไม่ย่อยเพราะมีกรด ฯลฯ) ซึ่งให้ความยินยอมที่จะดื่มน้ำอัลคาไลน์ ไอออนไนซ์ ที่มี pH 9.5 เป็นเวลา 2 สัปดาห์ ผลตรวจที่ได้หลังจากดื่ม พบว่า ผู้ป่วย 25 ราย มีอาการดีขึ้น 88% นอกจากนั้นยังพบว่ามีการเคลื่อนไหวของลำไส้เป็นปกติ
*ข้อความที่ตัดตอนมาจากเว็บไซต์ของสมาคมเครื่องทำน้ำอัลคาไลน์ ไอออไนซ์
อิโตคาวะ วาย: “ภาพรวมเกี่ยวกับการวิจัยน้ำอัลคาไลน์ ที่สามารถดื่มได้ โดยอิเล็กโทรไลซิส” J Functional Water Research ฉบับที่ 2, หมายเลข 2, หน้า 59-64 (2547)
เพื่อการประเมินตามวัตถุประสงค์ที่มากขึ้น จึงมีการดำเนินการทดสอบทางคลินิก ที่เป็นการทดสอบเปรียบเทียบแบบปกปิด โดยจะแบ่งผู้ป่วยที่มีอาการทางเดินอาหารออกเป็น ผู้ป่วยที่ให้ความยินยอมที่จะดื่มน้ำอัลคาไลน์ ไอออไนซ์ และผู้ป่วยที่ดื่มน้ำบริสุทธิ์ โดยทดสอบการดื่มน้ำเป็นเวลาสี่สัปดาห์ และตรวจสอบผลลัพธ์ที่ได้ ผลการวิจัยพบว่าน้ำอัลคาไลน์ ไอออไนซ์ มีประสิทธิภาพต่อกระเพาะอาหาร และลำไส้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่อาการไม่รุนแรง รวมถึงประสิทธิภาพในการรักษาอาการท้องเสียเรื้อรัง และท้องผูกก็ได้รับการยืนยันเช่นกัน
*ข้อความที่ตัดตอนมาจากเว็บไซต์ของสมาคมเครื่องทำน้ำอัลคาไลน์ ไอออไนซ์
อิโตคาวะ วาย: “ภาพรวมเกี่ยวกับการวิจัยน้ำอัลคาไลน์ ที่สามารถดื่มได้ โดยอิเล็กโทรไลซิส” J Functional Water Research ฉบับที่ 2, หมายเลข 2, หน้า 59-64 (2547)
*การทดสอบทางคลินิกเหล่านี้ ได้พิสูจน์ประสิทธิภาพของน้ำอัลคาไลน์ ไอออนไนซ์ ที่มีต่อกระเพาะอาหาร และลำไส้ อย่างไรก็ตามการดื่มน้ำอัลคาไลน์มีข้อแตกต่างจากการใช้ยาตรงที่ไม่สามารถรับรองว่าจะเห็นผลได้ในทันที
เป็นที่ยอมรับกันว่า การบริโภคน้ำอัลคาไลน์ ไอออไนซ์ เป็นประจำทุกวัน สามารถนำไปสู่ผลลัพธ์แบบค่อยเป็นค่อยไปอย่างอ่อนโยน สำหรับในกรณีที่อาการไม่ค่อยรุนแรง การบริโภคน้ำอัลคาไลน์ ไอออนไนซ์ ควรเป็นไปอย่างเหมาะสม (น้ำอัลคาไลน์ ไอออไนซ์ ไม่ได้มีประสิทธิภาพต่อกระเพาะอาหาร และลำไส้ ในทุกสภาวะเสมอไป)