มาตรฐานประสิทธิภาพการใช้พลังงานที่เชื่อถือได้ พร้อมให้ความสบายสูงสุด
ประสิทธิภาพการใช้พลังงานได้กลายเป็นสิ่งสำคัญอันดับหนึ่งสำหรับทั้งเจ้าของบ้านและธุรกิจทั่วโลก การทำความเย็นพื้นที่ภายในอาคารเป็นสาเหตุหลักของการใช้พลังงานเสมอมา ปัจจุบัน การพึ่งพาเครื่องปรับอากาศเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้มีการให้ความสำคัญมากขึ้นกับประสิทธิภาพการใช้พลังงานของระบบเหล่านี้
ประสิทธิภาพการใช้พลังงานในระบบปรับอากาศคืออะไร
โดยส่วนใหญ่ประสิทธิภาพการใช้พลังงานในระบบปรับอากาศ หมายถึงการใช้ระบบปรับอากาศอย่างเหมาะสมที่สุด ซึ่งหมายถึงการทำความเย็นหรือการทำความร้อนภายในอาคารโดยใช้พลังงานน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้โดยยังคงความเย็นสบายเหมือนเดิม ยกตัวอย่างเช่น เครื่องปรับอากาศที่มีประสิทธิภาพการใช้พลังงานจะใช้พลังงานน้อยกว่าเครื่องปรับอากาศแบบดั้งเดิม แต่มอบความเย็นสบายได้ในระดับเดียวกัน
การวัดประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
มีวิธีการวัดประสิทธิภาพการใช้พลังงานของเครื่องปรับอากาศอยู่หลายวิธี ระดับประสิทธิภาพนี้สำคัญต่อการช่วยให้ลูกค้าเปรียบเทียบระบบปรับอากาศต่างๆ และเข้าใจว่าประสิทธิภาพของเครื่องปรับอากาศสามารถส่งผลต่อค่าไฟฟ้าอย่างไร
อัตราส่วนประสิทธิภาพการใช้พลังงานตามฤดูกาล (SEER)
อัตราส่วนประสิทธิภาพการใช้พลังงานตามฤดูกาล (Seasonal Energy Efficiency Ratio หรือ SEER) เป็นวิธีวัดประสิทธิภาพของเครื่องปรับอากาศตลอดฤดูกาลทำความเย็นของทั้งปีนั้นๆ โดยใช้อุณหภูมิภายในอาคารที่คงที่และอุณหภูมิภายนอกอาคารที่เป็นไปได้ต่าง ๆ โดยมีขนาดทำความเย็นในการทำงานด้วยภาระโหลดเต็มพิกัด
อัตราส่วนประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (EER)
EER ย่อมาจาก Energy Efficiency Ratio หมายถึง การคำนวณประสิทธิภาพของเครื่องปรับอากาศตามอุณหภูมิภายในและภายนอกอาคารที่คงที่ โดยมีขนาดทำความเย็นที่การทำงานด้วยภาระเต็มพิกัด
ค่าสัมประสิทธิ์ของประสิทธิภาพ (COP)
ค่าสัมประสิทธิ์ของประสิทธิภาพ (Coefficient of Performance หรือ COP) ใช้อธิบายประสิทธิภาพการทำความร้อนของเครื่องปรับอากาศ และกำหนดโดยอัตราส่วนของการระบายความร้อนต่อปริมาณไฟฟ้าที่ระบบใช้ ณ ชั่วขณะหนึ่ง
ระดับประสิทธิภาพการใช้พลังงานแต่ละระดับเป็นตัวกำหนดประสิทธิภาพการใช้พลังงานของผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการประเมินภายใต้สภาวะที่แตกต่างกัน ระดับดังกล่าวนี้บ่งบอกว่ายิ่งใช้พลังงานน้อย ระดับยิ่งสูง ซึ่งหมายความว่าเครื่องปรับอากาศยิ่งมีประสิทธิภาพสูง แต่ในความเป็นจริง ประสิทธิภาพของเครื่องปรับอากาศในเวลาทำงานนั้นขึ้นอยู่กับความผันผวนของสภาพอากาศ สภาพภูมิอากาศ รวมถึงสภาวะภายในบ้านด้วย
Panasonic ปรับใช้เกณฑ์ระดับประสิทธิภาพแบบใหม่ ซึ่งเป็นมาตรฐานการประเมินพลังงานตามความเป็นจริงยิ่งขึ้น
เครื่องปรับอากาศจะทำงานไม่เหมือนกันในสภาวะที่แตกต่างกัน สภาวะต่างๆ เช่น พื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่มีอุณหภูมิโดยรอบแตกต่างกัน อาจส่งผลต่อการทำงานของระบบปรับอากาศ อุณหภูมิสูงๆ ในพื้นที่ที่มีอากาศร้อนทำให้เครื่องปรับอากาศต้องใช้พลังงานมากขึ้นในการทำงาน เครื่องปรับอากาศของ Panasonic ปรับใช้อัตราส่วนประสิทธิภาพการทำความเย็นตามฤดูกาล (CSPF) ซึ่งเป็นมาตรฐานประสิทธิภาพที่ปรับปรุงใหม่สำหรับการวัดประสิทธิภาพการใช้พลังงานตามความเป็นจริงยิ่งขึ้นตามสภาพแวดล้อมการใช้งานจริงตลอดทั้งปี
CSPF คืออะไร
CSPF ย่อมาจาก Cooling Seasonal Performance Factor ระดับ CSPF จะวัดปริมาณการใช้พลังงานและประสิทธิภาพการใช้พลังงานในแต่ละปี โดยคำนึงถึงช่วงเวลาตามฤดูกาลและความผันผวนของอุณหภูมิด้วยภาระการทำความเย็นที่แตกต่างกัน ซึ่งรวมถึงสถานการณ์ที่เครื่องปรับอากาศอยู่ในโหมดสแตนด์บายหรือทำงานด้วยภาระโหลดบางส่วน เช่น เมื่อมีเทคโนโลยีอินเวอร์เตอร์เข้ามาเกี่ยวข้อง ส่งผลให้มีการบ่งชี้ประสิทธิภาพการใช้พลังงานอย่างถูกต้องและตรงตามความเป็นจริงมากขึ้นตลอดฤดูกาลทำความเย็น ยิ่งระดับ CSPF สูง แสดงว่าเครื่องปรับอากาศยิ่งมีประสิทธิภาพการใช้พลังงานดีขึ้น
วิธีการคำนวณ CSPF
CSPF คำนวณจากอัตราส่วนของปริมาณความร้อนทั้งหมดที่เครื่องปรับอากาศสามารถกำจัดออกจากอากาศภายในอาคาร (เป็นวัตต์) ได้เมื่อใช้เพื่อทำความเย็นในระหว่างฤดูกาลทำความเย็นและปริมาณพลังงานทั้งหมดที่อุปกรณ์ใช้ไปในเวลาช่วงเดียวกัน (เป็นวัตต์)
ความสามารถในการทำความเย็นตามฤดูกาลทั้งหมด (CSTL)
ปริมาณความร้อนทั้งหมดที่สามารถกำจัดออกจากอากาศภายในอาคารเมื่อใช้อุปกรณ์เพื่อทำความเย็นในอาคารระหว่างฤดูกาลทำความเย็น
การใช้พลังงานในการทำความเย็นตามฤดูกาล (CSEC)
ปริมาณพลังงานทั้งหมดที่อุปกรณ์ใช้ในขณะใช้งานเพื่อทำความเย็นในระหว่างฤดูกาลทำความเย็น
CSPF แตกต่างจากวิธีการวัดระดับประสิทธิภาพการใช้พลังงานอื่นๆ อย่างไร
เทียบกับค่าประสิทธิภาพการใช้พลังงานทั่วไป CSPF จะประเมินประสิทธิภาพการใช้พลังงานของเครื่องปรับอากาศในอุณหภูมิและสภาพการทำงานที่ไม่แน่นอน ตารางด้านล่างแสดงความแตกต่างระหว่าง CSPF กับวิธีการวัดระดับประสิทธิภาพการใช้พลังงานวิธีอื่นๆ
ระดับ |
อัตราส่วนประสิทธิภาพการทำความเย็นตามฤดูกาล (CSPF) |
อัตราส่วนประสิทธิภาพการใช้พลังงานตามฤดูกาล (SEER) |
อัตราส่วนประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (EER) |
ค่าสัมประสิทธิ์ของประสิทธิภาพ (COP) |
---|---|---|---|---|
สมการ |
ภาระทำความเย็นทั้งหมด (W) ÷ การใช้พลังงานทั้งหมด (W) |
ประสิทธิภาพการทำความเย็นทั้งหมด (Btu) ÷ การใช้พลังงานทั้งหมด (Wh) |
ประสิทธิภาพการทำความเย็น (Btu) ÷ การใช้พลังงาน (Wh) |
ขนาดทำความร้อน (W) ÷ กำลังไฟ (W) |
ภาระขนาดทำความเย็น |
ขนาดภาระทำความเย็นที่แปรผันได้รวมถึงภาระบางส่วน เช่น การใช้เทคโนโลยีอินเวอร์เตอร์ |
ขนาดทำความเย็นด้วยภาระโหลดเต็มพิกัด |
ขนาดทำความเย็นด้วยภาระโหลดเต็มพิกัด |
ขนาดทำความเย็นด้วยภาระโหลดที่แปรผันได้ |
ปัจจัยด้านเวลา |
ระยะเวลาการทำความเย็นในแต่ละปี |
ระยะเวลาการทำความเย็นในแต่ละปี |
ระยะเวลาการทำความเย็นที่กำหนด |
ทันที |
อุณหภูมิ |
ช่วงอุณหภูมิโดยรอบภายในและภายนอกอาคาร แสดงถึงสภาพแวดล้อมตามเวลาจริง |
อุณหภูมิภายในอาคารที่คงที่ พร้อมด้วยช่วงอุณหภูมิภายนอกอาคาร |
อุณหภูมิภายในและภายนอกอาคารที่คงที่ |
ทันที |
ประโยชน์ของการปรับใช้ CSPF
การนำระดับ CSPF มาใช้จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อเจ้าของบ้านและธุรกิจ นับเป็นการประเมินประสิทธิภาพตามความเป็นจริง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อเจ้าของบ้านในการเลือกเครื่องปรับอากาศรุ่นที่มีประสิทธิภาพการใช้พลังงานดีที่สุด เพียงเท่านี้ก็จะช่วยลดค่าไฟฟ้าและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
การวัดประสิทธิภาพการใช้พลังงานตามความเป็นจริงยิ่งขึ้น
เมทริกซ์ CSPF เลียนแบบสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติเพื่อคำนวณประสิทธิภาพการใช้พลังงานที่จะแสดงประสิทธิภาพของเครื่องปรับอากาศได้ดีกว่าวิธีการแบบดั้งเดิม การประเมิน CSPF จะรวมถึงปัจจัยต่างๆ เช่น เทคโนโลยีอินเวอร์เตอร์ ซึ่งไม่มีในวิธีการแบบดั้งเดิม
ระบุมูลค่าการประหยัดพลังงานได้ง่าย
ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพการใช้พลังงานที่แม่นยำจะช่วยให้คุณตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศได้ดียิ่งขึ้น ระดับ CSPF แสดงให้คุณเห็นว่าเครื่องปรับอากาศจะใช้พลังงานมากน้อยเพียงใดภายใต้สภาวะการทำงานทั่วไป ดังนั้นคุณจึงสามารถตัดสินใจได้ว่าเครื่องปรับอากาศรุ่นใดเหมาะสมกับงบประมาณของคุณมากที่สุด
ลดค่าไฟฟ้า
เครื่องปรับอากาศที่มีประสิทธิภาพการใช้พลังงานจะใช้พลังงานน้อยลง ซึ่งทำให้ค่าไฟฟ้าต่ำลง ยิ่งระดับ CSPF สูง เครื่องปรับอากาศยิ่งมีประสิทธิภาพการใช้พลังงานดีขึ้น ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้อย่างมากในระยะยาว
ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
การใช้พลังงานสูงมีส่วนทำให้เกิดภาวะโลกร้อนเนื่องจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เมื่อคุณใช้เครื่องปรับอากาศที่มีระดับ CSPF สูง คุณจะลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาเพื่อทำความเย็นให้พื้นที่ของคุณ
ปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน พร้อมให้ความเย็นสบายสูงสุด
การทำความเข้าใจเกี่ยวกับระดับประสิทธิภาพช่วยให้เปรียบเทียบเครื่องปรับอากาศรุ่นต่างๆ ได้ง่ายขึ้น และค้นหารุ่นที่จะลดการใช้พลังงานของคุณได้มากที่สุด ควรมองหาเครื่องปรับอากาศที่มีระดับ CSPF สูงๆ เพื่อประสิทธิภาพการใช้พลังงานที่ดีที่สุด
Panasonic มุ่งมั่นที่จะนำเสนอเครื่องปรับอากาศรุ่นที่มีประสิทธิภาพการใช้พลังงานดียิ่งขึ้น พร้อมเทคโนโลยีอันล้ำสมัย และปรับปรุงระดับประสิทธิภาพของเราโดยยังคงให้ความเย็นสบายสูงสุด คุณสามารถมั่นใจได้ถึงเครื่องปรับอากาศที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพการใช้พลังงานที่ดีขึ้น เพื่อให้คุณได้รับความเย็นสบายสูงสุดโดยใช้พลังงานน้อยลง