City Scape and Time Lapse
Gallery - City Scape
เสน่ห์ของการเดินทางไปเมืองใหญ่สำหรับช่างภาพอีกอย่างหนึ่งคือ การถ่ายภาพ City Scape รวมไปถึงการถ่าย Time Lapse ซึ่งในแต่ละเมืองจะมีจุดถ่ายภาพชมวิวมุมสูง ทำให้เห็นรายละเอียดของเมืองได้ดี และได้มุมมองที่แปลกตาในการถ่ายภาพ โดยอาจจะลองเช็คจุดจากแผนที่ หรือ Google Map เพื่อวางแผนหามุมถ่ายภาพในแต่ละเมือง
การถ่ายภาพเมือง อุปกรณ์ที่ต้องมีนอกเหนือไปจากกล้อง และเลนส์ คือขาตั้งกล้อง และสายลั่นชัตเตอร์ เนื่องจากหากถ่ายตึกที่มีไฟเปิด แแสงจะน้อยเกินกว่าที่จะใช้ชัดเตอร์สปีดที่มือสามารถถือกล้องได้
ส่วนการจัดการกล้องเบื้องต้นในการถ่ายภาพเมืองทุกครั้ง
◦ ตั้งแมนวลโฟกัส เช็คปรับความคมชัดใน Live View หรือ Electronic Viewfinder
◦ ปิดกันสั่นของกล้องและเลนส์
◦ ถ่ายไฟล์ Raw เพื่อความยืดหยุ่นในการปรับแต่งภาพภายหลัง
◦ ใช้มาตรวัดระดับในกล้องเพื่อตั้งระนาบกล้องให้ขนานกับพื้น
◦ การถ่ายเส้นแสงไฟรถวิ่ง ใช้หลักถ่ายภาพหลายใบ โดยการลากเวลาถ่ายให้ภาพไฟรถเป็นเส้นตามความยาวที่พอใจ ก่อนนำมารวมเส้นแสงโดยการใช้คำสั่ง Lighten ซ้อนเลเยอร์ใน Photoshop
◦ หากถ่ายภาพช่วงเช้าก่อนพระอาทิตย์ขึ้นเล็กน้อย หรือช่วงพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปไม่นาน จะได้ภาพท้องฟ้าที่สีดำไม่สนิท แต่เป็นท้องฟ้าสีน้ำเงินแทน ซึ่งเราจะเรียกชั่วโมงการถ่ายว่า Blue Hour จะทำให้ภาพน่าสนใจกว่าช่วงที่ท้องฟ้ามืดสนิท ควรเตรียมพร้อมโดยการดูเวลาพระอาทิตย์ขึ้นและตกจะได้กำหนดช่วงเวลาได้ถูกต้อง
◦ ถ้าตั้งทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว ลองถ่ายภาพหนึ่งใบเพื่อเช็คโฟกัส เช็คแสง เช็ค White balance ว่าได้ภาพอย่างที่ต้องการหรือไม่ เปิด Histogram, Highlight alert หรือ Shadow เพื่อดูประกอบข้อมูลแสงของภาพว่ามีส่วนที่สว่างจ้าไม่เห็นรายละเอียด หรือมีส่วนที่ดำสนิทเกินไปจนไม่เห็นรายละเอียดหรือเปล่า
◦ ถ้าเราพอใจกับมุมมองดีแล้ว หรือมั่นใจว่านี่คือมุมที่ชอบที่สุด อาจจะลองถ่ายเป็น Time Lapse ไว้ด้วย เพราะนอกจากเราจะได้เป็นคลิปวีดีโอแล้ว เรายังจะสามารถเลือกแสงสวยๆ หรือจังหวะสวยๆ จากภาพในช่วงการถ่าย Time Lapse อีกด้วย
◦ การถ่าย Time Lapse ให้สวย และน่าสนใจ เบื้องต้นคือการมองหาสิ่งที่จะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ระหว่างเวลาในการถ่าย เช่น เมฆ ท้องฟ้า แสง การจราจร ความเคลื่อนไหว เป็นต้น หากถ่าย Time Lapse ในช่วงเวลา Blue Hour จะทำให้เราเห็นการเปลี่ยนแปลงของเมือง แสง หรือสิ่งแวดล้อมระหว่างเวลาที่ถ่าย เราจะเรียกคลิปแบบนี้ว่า Day to Night หรือ Night to day เปลี่ยนจากกลางวันเป็นกลางคืน หรือ กลางคืนเป็นกลางวัน ซึ่งจะทำให้คลิป Time Lapse น่าสนใจกว่าการถ่ายแค่ช่วงเวลาเดียวนั่นเอง
◦ กล้อง Lumix ทุกรุ่น สามารถถ่าย Time Lapse ได้สะดวก ง่ายดาย เพียงปรับโหมด Dial ของกล้องไปที่ Time Lapse กล้องจะให้เราเลือกจำนวนภาพที่ต้องถ่าย ระยะเวลาความห่างของภาพ จากนั้นกล้องจะคำนวนบอกเวลาสิ้นสุดของภาพสุดท้ายที่ถ่าย
◦ หากประมาณแล้วว่าแสงน่าจะเปลี่ยนในระหว่างถ่าย ให้ใช้โหมดการถ่ายแบบโดยยึด Shutter speed หรือ รูรับแสง ในการถ่ายภาพ S หรือ A หากสภาพแสงไม่เปลี่ยนแปลงเลือกใช้ Mode M
◦ เมื่อสิ้นสุดการถ่ายภาพกล้อง Lumix สามารถเลือกรวมไฟล์เป็นวีดีโอได้เลย หรือสามารถมารวมทีหลังได้ตราบใดที่ยังไม่ได้เปลี่ยนแปลง Memory Card
สำคัญเหนือสิ่งอื่นใด เตรียมแบตเตอรี่ และเมมโมรี่ให้พอเพียง
ศุภชัย วีรยุทธานนท์ – ช่างภาพอิสระ, ช่างภาพใต้น้ำ
เริ่มถ่ายภาพใต้น้ำมาเป็นเวลากว่า 10 ปี มีประสบการณ์ถ่ายภาพใต้น้ำในหลายๆ ประเทศ ไม่ว่าจะเป็น ฟิลิปปินส์, เกาะสิปาดัน มาเลเซีย, เกาะบาหลี หมู่เกาะราชาอัมพัท เกาะมานาโด, ช่องแคบเลมเบห์ ในประเทศอินโดนีเซีย, หมู่เกาะมัลดีฟ, หมู่เกาะปาเลา, หมู่เกาะกาลาปากอส - เกาะ Cocos ในทวีปอเมริกาใต้, การดำน้ำในถ้ำที่ประเทศเมกซิโก ที่หมู่เกาะ Socorro, ฮาวาย, ถ่ายวาฬหลังค่อม ที่เกาะ Reunion ประเทศฝรั่งเศส นอกจากนี้ยังมีผลงานการถ่ายสารคดี เคยฝากผลงานการถ่ายสารคดีใต้น้ำว่าด้วยเรื่องชนเผ่าบาเจา ในช่องThai PBS และสารคดีวาฬ และฉลามในประเทศแอฟริกาใต้ ซึ่งผลงานหลายๆ ชิ้นก็ได้รับการตีพิมพ์ในสื่ออื่นอย่างหนังสือ และนิตยสารเป็นต้นรวมถึงได้รับรางวัลต่างๆมาแล้วทั้งในระดับประเทศ และระดับสากล
ผลิตภัณฑ์แนะนำ
DC-S1RGA-K
กล้อง DSLM (Digital Single Lens Mirrorless) แบบฟูลเฟรมที่มีเซ็นเซอร์ MOS ความละเอียด 47.3 ล้านพิกเซล และโหมดความละเอียดสูง 187 ล้านพิกเซล
DC-S1RMGA-K
กล้อง DSLM (Digital Single Lens Mirrorless) แบบฟูลเฟรมที่มีเซ็นเซอร์ MOS ความละเอียด 47.3 ล้านพิกเซล และโหมดความละเอียดสูง 187 ล้านพิกเซล ชุดเลนส์ 24-105 มม.