ภาพมาโครใต้น้ำ
การดำน้ำในแต่ละ dive จะเจออะไรไม่เหมือนกันสักครั้ง นอกจากความพร้อม และข้อมูลที่เราต้องทำการบ้านก่อนจะลงดำทะเลที่ไหน โชคเป็นอีกสิ่งสำคัญที่ต้องพกไปด้วย เคยมีคนบอกว่าโชคมักจะเข้าข้างนักดำน้ำมือใหม่ บางคนลงน้ำ dive แรก ก็เจอพี่ใหญ่ใจดี ฉลามวาฬมารอต้อนรับ แต่ก็นั่นแหละนะ บางคนก็ไม่เจอ ถ้าโชคไม่เข้าข้างจริงๆ ก็คงต้องอาศัยความพยายาม อดทน เฝ้ารอ
สำหรับนักถ่ายภาพใต้น้ำ ที่มีประสบการณ์มาประมาณหนึ่งแล้ว การถ่ายภาพมาโครเป็นอีกหนึ่งเสน่ห์ และความท้าทาย เพราะสิ่งที่จะถ่าย จะไม่ได้เห็นกันง่ายๆ ไม่ได้ว่ายผ่านหน้ามาโชว์ตัวกันโจ่งแจ้ง แต่ต้องค้นหาไปตามซอก หลืบ โขดหิน ปะการัง
สิ่งที่เราจะมองหาในการถ่ายภาพมาโครใต้น้ำ ถ้าเราไม่ถ่ายปลาแล้วเราจะถ่ายอะไรได้บ้าง มีเยอะเลยครับ กุ้ง ปู และสัตว์น้ำแปลกๆ หลายชนิด แค่ปูกับกุ้งก็มีมากมาย หน้าตาก็แปลกแตกต่างกันไปไม่เบื่อ
เนื่องจากเลนส์มาโครให้ระยะชัดตื้นน้อยมากเพราะมีอัตรากำลังขยายสูง หน้ากล้องที่ใช้อย่างต่ำก็ใช้ตั้งแต่ f16 ขี้นไป ส่วนเทคนิคการจัดแสงก็สามารถใช้ไฟฉายที่มีความสว่าง และบีบเป็นลำแสงช่วยในการถ่ายได้นอกเหนือจากปกติที่จะใช้แฟลชใต้น้ำในการถ่าย
สัตว์ทะเลบางชนิดก็มีรูปร่างโปรงแสง การใช้ไฟจากด้านบน หรือด้านหลังก็จะสามารถทำให้เห็นความโปร่งได้ดีกว่าการถ่ายโดยใช้ไฟส่องจากด้านหน้าจะดูทึบตัน
ภาพถ่ายทั้งหมดถ่ายด้วยกล้อง Lumix Full frame S1R และเลนส์มาโคร 105 mm
ใช้ไฟฉายด้านบนตัวกุ้งให้แสงโดนเฉพาะตัว ขับเน้นกุ้งเด่นในเฟรม เลือกใช้ ISO สูงเพื่อให้ได้แสงพอดีเนื่องจากใช้ไฟฉาย
f18 1/125 ISO1600
ลวดลายของกอ Sea pen ที่มีรูปร่างคล้ายขนนก และมีกิ่งออกไปทำให้ตัวปูที่อาศัยอยู่มีความน่าสนใจยิ่งขึ้น
f22 1/160 ISO 250
ปลาปากท่อชนิดหนึ่ง ญาติสนิทของม้าน้ำ ดูๆ ไปคล้ายมังกรตัวน้อยๆ
f22 1/200 ISO 320
กุ้งตัวตลก เวลาตามหาให้ดูพวกซอกโพรงหรือซอกหลืบ อาหารโปรดของกุ้งตัวตลกคือปลาดาว
f22 1/250 ISO 320
สัตว์น้ำในวัยอ่อน เช่นลูกปลาสิงโตนี้จะมีลำตัวใสแถมมีขนาดเล็กมาก
f16 1/50 ISO800
ทากทะเล มีส่วนยื่นของลำตัวโปรงใสคล้ายลูกโป่งหรือปีกผีเสื้อ ถ่ายภาพโดยไฟฉายส่งจากด้านบเน้นให้เห็นความโปร่งแสง
f13 1/125 ISO1600
ญาติใกล้ๆ กันของกุ้งตัวตลก ลายและสีสันคล้ายเสือ ทางฝรั่งจึงเรียก Tiger Shrimp
f22 1/250 ISO 320
ศุภชัย วีรยุทธานนท์ – ช่างภาพอิสระ, ช่างภาพใต้น้ำ
เริ่มถ่ายภาพใต้น้ำมาเป็นเวลากว่า 10 ปี มีประสบการณ์ถ่ายภาพใต้น้ำในหลายๆ ประเทศ ไม่ว่าจะเป็น ฟิลิปปินส์, เกาะสิปาดัน มาเลเซีย, เกาะบาหลี หมู่เกาะราชาอัมพัท เกาะมานาโด, ช่องแคบเลมเบห์ ในประเทศอินโดนีเซีย, หมู่เกาะมัลดีฟ, หมู่เกาะปาเลา, หมู่เกาะกาลาปากอส - เกาะ Cocos ในทวีปอเมริกาใต้, การดำน้ำในถ้ำที่ประเทศเมกซิโก ที่หมู่เกาะ Socorro, ฮาวาย, ถ่ายวาฬหลังค่อม ที่เกาะ Reunion ประเทศฝรั่งเศส นอกจากนี้ยังมีผลงานการถ่ายสารคดี เคยฝากผลงานการถ่ายสารคดีใต้น้ำว่าด้วยเรื่องชนเผ่าบาเจา ในช่องThai PBS และสารคดีวาฬ และฉลามในประเทศแอฟริกาใต้ ซึ่งผลงานหลายๆ ชิ้นก็ได้รับการตีพิมพ์ในสื่ออื่นอย่างหนังสือ และนิตยสารเป็นต้นรวมถึงได้รับรางวัลต่างๆมาแล้วทั้งในระดับประเทศ และระดับสากล
ผลิตภัณฑ์แนะนำ
DC-S1RGA-K
กล้อง DSLM (Digital Single Lens Mirrorless) แบบฟูลเฟรมที่มีเซ็นเซอร์ MOS ความละเอียด 47.3 ล้านพิกเซล และโหมดความละเอียดสูง 187 ล้านพิกเซล
DC-S1RMGA-K
กล้อง DSLM (Digital Single Lens Mirrorless) แบบฟูลเฟรมที่มีเซ็นเซอร์ MOS ความละเอียด 47.3 ล้านพิกเซล และโหมดความละเอียดสูง 187 ล้านพิกเซล ชุดเลนส์ 24-105 มม.